“Education Criteria for Performance Excellence” : EdPEx

EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA)  เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ใช้เกณฑ์แบบเดียวกับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ใช้กับระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ  เกณฑ์จะตั้งคำถามให้สถาบันพิจารณา ว่าได้ทำสิ่งเหล่านี้แล้วหรือไม่

มีการดำเนินงานที่เป็นระบบหรือไม่

นำระบบไปใช้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และทั่วถึงหรือไม่

ติดตาม ประเมินผล เพื่อพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหรือไม่

ผลการปรับปรุง ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและทิศทาง ที่มุ่งหวังหรือไม่

ผลลัพธ์ของการปรับปรุง สร้างความยั่งยืนได้หรือไม่

คำอธิบายจากภาพข้างต้น

โครงร่างองค์กร เป็นการบ่งบอกถึงบริบท  และ อธิบาย วิธีการปฏิบัติการขององค์การ สภาพแวดล้อมการดำเนินการ ความ สัมพันธ์ที่สำคัญในการปฏิบัติการและความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ครอบคลุมระบบการจัดการ การดำเนินการองค์การโดยรวม

 

การปฏิบัติการ

ระบบการปฏิบัติการ  ประกอบด้วย  การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การนำองค์การ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้า  ประกอบกันเป็นกลุ่มการนำองค์การ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญว่า การนำองค์การต้องมองเน้นที่กลยุทธ์ ผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้นำระดับสูงต้องกำหนดทิศทางขององค์การ และแสวงหาโอกาสด้านการจัดการศึกษาในอนาคต การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน  การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ ประกอบกันเป็นกลุ่มผลลัพธ์ โดยผู้ปฏิบัติงานและกระบวนการที่สำคัญ มีบทบาททำให้การดำเนินการสำเร็จและนำไปสู่ผลการดำเนินการโดยรวมที่ดีขององค์การการปฏิบัติการทุกอย่างมุ่งสู่ผลลัพธ์  ซึ่งประกอบด้วย ผลลัพธ์ของผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลาด งบประมาณ การเงิน และผลลัพธ์ภายในองค์การโดยรวมถึงผู้ปฏิบัติงาน การนำองค์การ ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม

 

พื้นฐานของระบบ

การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้องค์การมีการจัดการที่มีประสิทธิผล และมีการปรับปรุงผลการดำเนินการ และความสามารถในการแข่งขัน โดยระบบที่ใช้ข้อมูลจริง และองค์ความรู้เป็นแรงผลักดัน การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้นี้เป็นพื้นฐานของระบบการจัดการผลการดำเนินการโดยรวม

การประเมิน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ประเมินกระบวนการ (มีแนวทางที่เป็นระบบ มีการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ มีการเรียนรู้ มีการบูรณาการ)

ประเมินผลลัพธ์ (แนวโน้ม การเปรียบเทียบ การบูรณาการ)

คะแนนในแต่ละหมวด (รวม 1,000 คะแนน)

 

หมวด 1 การนำองค์การ 120 คะแนน

หมวด 2 กลยุทธ์ 85 คะแนน

หมวด 3 ลูกค้า 85 คะแนน

หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 90 คะแนน

หมวด 5 บุคลากร 85 คะแนน

หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ 85 คะแนน

หมวด 7 ผลลัพธ์ 450 คะแนน

 

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา http://www.mua.go.th/users/bhes/edpex/download.html

FACEBOOK PAGE

Planning and Quality Development Division, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University

ฝ่ายงบประมาณ แผน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

02-696-5208-10

lartsplanning@gmail.com

ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

02-696-5223

larts_qa@arts.tu.ac.th